บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet)

อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมลเว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

ที่มา
อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (email), สนทนา (chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์, การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่าง ๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (video conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรืออื่น ๆ
แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊กทวิตเตอร์ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
สัดส่วนการผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแยกตามทวีป, ที่มา: http://www.internetworldstats.com/stats.htm
ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ 30.2 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่าง ๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 44.0 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 384 ล้านคน
หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 78.3 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.1 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 58.3 % ตามลำดับ
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC),มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย [1]
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30 คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2
โปรแกรมเวบบราวเซอร์Web Browser

โปรแกรมเวบบราวเซอร์Web Browser
โปรแกรม Web Browser นั้นมีมากมายจากหลายค่ายหลายบริษัทแม้จะมีรูปแบบการใช้อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่มีจุดประสงค์เดียวกันคือไว้ใช้สำหรับท่องอินเทอร์เน็ต แสดงผลข้อมูลภายในเว็บเพจสามารถจัดการไฟล์วิดีโอ เสียง รูปภาพหรือแม้กระทั่งการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ก็สามารถกระทำได้ สำหรับโปรแกรม Web Browser ที่ได้รับความนิยมทั้งในอดีตและในปัจจุบันเช่น Internet Explorer Mozilla Firefox และ Google Chrome 

1. Internet Explorer หรือเรียกสั้นๆ ว่า IE
IE เป็นโปรแกรมประเภทฟรีแวร์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาว์นโหลดโปรแกรมได้ทางhttp://www.microsoft.comอีกประการหนึ่งโปรแกรมนี้จะแถมมากับระบบปฏิบัติการ Windows ทุกเวอร์ชั่น ซึ่งหากได้ติดตั้งแล้วก็สามารถใช้งานได้เลย

2. Mozilla Firefox หรือเรียกสั้นๆ ว่า Firefox
 Firefoxเป็น Browser ที่มีกระแสการตอบรับอย่างรวดเร็วเมื่อต้นปี 2006 ซึ่งขณะนี้มีผู้ใช้ Browser ตัวนี้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน มียอดการ download ไปใช้งานเกือบ 300 ล้านครั้งแล้ว นั่นแสดงให้เห็นว่า Firefox ต้องมีอะไรสักอย่างที่ดึงดูดนักท่องเว็บเหล่านั้น จุดเด่นที่สำคัญของ Mozilla Firefox ที่น่ากล่าวถึงเป็นอย่างแรกคือ ความเป็นโปรแกรม open source แจกฟรีให้กับผู้ใช้ทั่วไปที่พัฒนาโดยองค์การที่ไม่หวังผลกำไรและคน ทั่วไปนั่นเอง

3. Google Chrome เว็บบราวเซอร์ตัวใหม่ล่าสุด
          Google Chrome คือเว็บเบราว์เซอร์ที่พัฒนาโดยบริษัทเสิร์ชเอนจิ้นยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างกู เกิล (Google) คู่แข่งสำคัญของบริษัทMicrosoft ซึ่งเป็นเว็บบราวเซอร์ที่มีความเร็ว มีธีมและหน้าตาที่สวยงามน่า ใช้ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้พัฒนามาจนถึงเวอชั่น4 แล้ว ด้วยการใช้งานที่ง่ายเป็นฟรีแวร์ และสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาทีเปิดตัวพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Google Chrome OS แบบเดียวกับ Microsoft ซึ่งบราวเซอร์ตัวนี้มีคุณสมบัติที่น่าสนใจมากมาย

ISP คืออะไร
        ISP หรือ Internet Service Provider เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้อยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ( Commercial ISP) และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-commercial ISP )
Cloud Computing
หากแปลความหมายของคำว่า Cloud Computing ดูจะเข้าใจยาก หรือถ้าแปลเป็นไทย การประมวลผลบนกลุ่มเมฆก็ยิ่งดูจะงงเข้าไปใหญ่ แต่น่าจะง่ายกว่าถ้าบอกว่า Cloud Computing คือการที่เราใช้ซอฟต์แวร์, ระบบ, และทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเลือกกำลังการประมวลผล เลือกจำนวนทรัพยากร ได้ตามความต้องการในการใช้งาน และให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลบน Cloud จากที่ไหนก็ได้

 โปรโตคอล (Protocol) หมาย ถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลายชนิดคล้ายกับภาษามนุษย์ที่มีทั้ง ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษามือ เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น