วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559

E commerce

http://www.cdiscount.co.th/

บทความใหม่

1 ลิขสิทธิ์ คืออะไรงานประเภทใดบ้างที่อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ทำให้เจ้าของงานมีสิทธิ์พิเศษในการใช้งานดังกล่าวโดยมีข้อยกเว้นบางประการ เมื่อบุคคลคนหนึ่งสร้างงานของตนซึ่งรวมอยู่ในสื่อที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของงานไปโดยปริยาย

งานหลายประเภทมีสิทธิ์ในการปกป้องลิขสิทธิ์ เช่น

งานด้านภาพและเสียง เช่น รายการทีวี ภาพยนตร์ และวิดีโอออนไลน์

การบันทึกเสียงและการประพันธ์เพลง

งานเขียน เช่น บทบรรยาย บทความ หนังสือ และการประพันธ์เพลง

งานด้านภาพ เช่น ภาพวาด โปสเตอร์ และโฆษณา

วิดีโอเกมและซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

งานด้านละคร เช่น ละครเวทีและละครเพลง

  • 2 การจัดการสิทธิดิจิทอล
การจัดการสิทธิดิจิทอล (อังกฤษDigital Right Management หรือย่อว่า DRM) คือเทคโนโลยีที่ใช้โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้งานข้อมูลดิจิทัล (เช่น ซอฟต์แวร์ เพลง ภาพยนตร์) และฮาร์ดแวร์ซึ่งใช้จำกัดการใช้งานข้อมูลดิจิทัลเฉพาะงานใดงานหนึ่ง การจัดการสิทธิดิจิทัลมักสับสนกับ การป้องกันการคัดลอก ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีในการจำกัดการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสิทธิดิจิทัล
การจัดการสิทธิดิจิทัลเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างมาก ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่า การจัดการสิทธิดิจิทัลจำเป็นสำหรับเจ้าที่ลิขสิทธิ์สำหรับการป้องการการทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้แน่ใจว่ามีรายได้จากผลงานต่อไป[1] ส่วนฝ่ายที่ติเตียนโดนเฉพาะมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีเสนอว่าการใช้คำว่า "สิทธิ" ทำให้เกิดความเข้าใจผิดๆ จึงควรใช้ศัพท์ว่า การจัดการบังคับควบคุมดิจิทอล แทน

3 การคัดลอกงาน
โจรกรรมทางวรรณกรรม หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม (อังกฤษplagiarism) หมายถึง การลอกงานเขียน ความคิดหรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่เหมือนหรือเกือบเหมือนงานดั้งเดิมของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานดั้งเดิมของตนเอง
ในวงวิชาการ โจรกรรมทางวรรณกรรมโดยนิสิตนักศึกษา อาจารย์หรือนักวิจัยถือเป็น “ความไม่สุจริตทางวิชาการ” (en:academic dishonesty) หรือ “การฉ้อฉลทางวิชาการ” (en:academic fraud) และผู้กระทำผิดจะต้องถูกตำหนิทางวิชาการ (academic censure) โจรกรรมทางวรรณกรรมในงานสื่อสารมวลชนถือเป็นละเมิดจรรยาบรรณทางวารสารศาสตร์ (en:journalistic ethics) นักข่าวที่ถูกจับได้โดยทั่วไปจะถูกลงโทษทางวินัยตั้งแต่พักงานถึงการถูกให้ออกจากงาน สำหรับบุคคลทั่วไปที่ถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมทางวิชาการหรือทางงานหนังสือพิมพ์มักอ้างว่าได้กระทำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยลืมใส่อ้างอิง หรือใส่คำประกาศกิตติคุณ (en:citation) ที่เหมาะสมไว้ ปัญหาโจรกรรมทางวรรณกรรมเป็นปัญหาที่เกิดมานานนับศตวรรษมาแล้วซึ่งเป็นแบบรูปเล่ม การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตที่บทความปรากฏในรูปของอีเล็กทรอนิกส์ ทำให้งานคัดลอกทำได้เพียง “ลอก” ข้อความในเว็บมา “ใส่” ไว้ในอีกเว็บหนึ่งอย่างง่ายดายที่เรียกว่า “การคัดลอก-แปะ” (en:copying and pasting)
โจรกรรมทางวรรณกรรมต่างกับการละเมิดลิขสิทธิ์แม้ทั้งสองคำนี้ใช้กับพฤติกรรมที่คล้าย ๆ กัน เพียงแต่เน้นการละเมิดที่ต่างมุมกัน การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดสิทธิ์ด้วยการไม่บอกกล่าวกับผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่งโจรกรรมทางวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับการสร้างชื่อเสียงให้ตนเองของผู้กระทำด้วยการแอบอ้างว่าตนเป็นผู้เขียน