บทที่ 11 ความปลอดภัย และจริยธรรมในโลกออนไลน์

 ความปลอดภัย และจริยธรรมในโลกออนไลน์


บทที่ 11 ความปลอดภัย และจริยธรรมในโลกออนไลน์


ความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญในการประกอบกิจการขององค์กรธุรกิจต่างๆ รวมทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ในยุคสังคมสารสนเทศ แต่บางครั้งได้มีผู้ที่ขาดสามัญสำนึกพื้นฐานที่ดี ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปในทางที่ผิด ใช้คอมพิวเตอร์สร้างความเดือดร้อน ก่อความเสียหายให้กับผู้อื่น นับตั้งแต่สร้างความรำคาญไปจนถึงการเกิดความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล เนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำความผิดนั้นเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน ยากต่อการตรวจพบร่องรอยในการก่อความผิด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายที่เกิดจากผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำความผิด และสร้างความเสีย นอกจากนี้จริยธรรมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้ใช้งาน เพราะหากขาดจิตสำนึกการใช้ที่ดีแล้วก็อาจส่งผลให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในสังคม ก่อเกิดปัญหาขึ้นมาได้ ในส่วนความปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ แม้แต่การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็นับว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ซึ่งผู้ใช้ต้องตระหนักรู้ถึงประโยชน์และโทษที่แฝงมาในรูปแบบที่หลากหลายทางออนไลน์ จึงจำเป็นต้องทราบแนวทางการใช้งาน เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด
เพราะฉะนั้นจึงมีการตั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในอดีตเมื่อมีเหตุการณ์ความเสียหายที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์กระทำความผิด หรือสร้างความเสียหายแก่ระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแต่ละครั้ง มักจะไม่สามารถเอาผิดผู้ที่กระทำความผิดได้ ผู้ก่อความผิดสามารถอยู่ ณ สถานที่ใดในโลกก็ได้ ทำให้ยากที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ และความเสียหายที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์กระทำผิดก็สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมากและรวดเร็ว แต่ยังไม่มีกฎหมายมารองรับและสามารถนำมาใช้ลงโทษได้
การก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของชาติ
เนื่องจากการขาดจิตสำนึกและจริยธรรมที่ดีนั่นเอง
จึงทำให้เกิด
จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
จริยธรรม (Ethics) เป็นแบบแผนความประพฤติหรือความมีสามัญสำนึกรวมถึงหลักเกณฑ์ที่คนในสังคมตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันต่อสังคมในทางที่ดี ซึ่งอาจจะไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับกลุ่มสังคมหรือการยอมรับในสังคมนั้นๆ เป็นหลัก ซึ่งจริยธรรมจะเกี่ยวข้องกับการคิดและตัดสินใจ
สรุปแล้วจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยุคสังคมสารสนเทศ เป็นแบบแผนความประพฤติให้เราสามารถอยู่บนโลกออนไลน์ได้อย่างเหมาะสมโดยต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นส่วนตัวที่ต้องเคารพในข้อมูลส่วนบุคคล ความถูกต้องแม่นยำที่ต้องระมัดระวังในเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความเป็นเจ้าของที่ต้องตระหนักถึงลิขสิทธิ์ และการเข้าถึงข้อมูลซึ่งต้องมีจริยธรรมไม่ลักลอบเจาะระบบหรือบุกรุกเข้าไปใช้งานระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นผู้ที่อยู่ในสังคมสารสนเทศนอกจากจะต้องอยู่ในกฎระเบียบที่สังคมได้กำหนดเป็นแนวปฏิบัติ มีจริยธรรมพื้นฐานในการใช้งานออนไลน์แล้ว ก็จำเป็นต้องรู้เท่าทัน มีแนวทางป้องกันอาชญากรรมต่างๆ ที่
แฝงมาทางออนไลน์ด้วย ดังนั้นในหัวข้อต่อไปจะได้กล่าวถึงการรักษาความปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงแนวโน้มด้านความปลอดภัยในอนาคตด้วย


สรุป
ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายที่เกิดจากผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการกระทำผิด โดยกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ กำหนดขึ้นเพื่อรองรับรูปแบบการกระทำผิดหลากหลายรูปแบบ นับตั้งแต่การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยสปายแวร์ สนิฟเฟอร์ ฟิชชิ่ง การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์โดยไวรัส DoS การ สแปมอีเมล การใช้โปรแกรมเจาะระบบโดยแฮกเกอร์ เป็นต้น ฉะนั้นผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจึงควรมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้อยู่ในสังคมออนไลน์ร่วมกันอย่างสันติสุข สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยต้องพิจารณาถึง ความเป็นส่วนตัวเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลที่
ถูกต้องแม่นยำ การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของของผู้อื่น รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลโดยสิทธิอันชอบธรรมไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น นอกจากนี้ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็ควรรู้แนวทางป้องกันภัยจากการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ อาทิ การระมัดระวังในการเข้าเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อการดาวน์โหลดข้อมูล เพราะอาจติดไวรัสหรือสปายแวร์ได้ การติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันไวรัส การใช้ฟิลเตอร์แพ็กเก็ตสำหรับกรองข้อมูลเพื่อป้องกันการโจมตีแบบ DoS การติดตั้งไฟร์วอลล์เพื่อป้องกันการบุกรุกจากแฮกเกอร์ เป็นต้น ในอนาคตแนวโน้มด้านความปลอดภัย องค์กรของรัฐควรให้ความสำคัญต่อการป้องกันการบุกรุกหรือถูกโจมตีระบบเครือข่ายขององค์กรให้มาก เพราะเป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์ เนื่องจากระบบป้องกันยังไม่รัดกุมพอจึงง่ายต่อการเจาะระบบ รวมถึงการระมัดระวังในการให้สิทธิ์การเข้าใช้ระบบบุคลากรในองค์กร การนำฮาร์ดแวร์มาใช้ภายในองค์กร จึงควรควบคุมอย่างเข้มงวด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น